เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > รายชื่อบทเรียนทั้งหมด > บทเรียนที่ 8

บทเรียนที่ 8

ขออีกครั้งค่ะ

แอนนากำลังนั่งเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของศาสตราจารย์ซุซุกิที่มหาวิทยาลัย

บทเรียนที่ 8 (10 นาที)

ประโยคสำคัญ:

MÔICHIDO ONEGAI SHIMASU

บทสนทนา

先生 みなさん、これを覚えてください。
試験によく出ます。
ทุกคน กรุณาจำนี่ ออกข้อสอบบ่อยครับ
อาจารย์ MINASAN, KORE O OBOETE KUDASAI.
SHIKEN NI YOKU DEMASU.
ทุกคน กรุณาจำนี่ ออกข้อสอบบ่อยครับ
学生 えっ。 เอ๊ะ
นักศึกษา E'.
เอ๊ะ
アンナ 先生、もう一度お願いします。 อาจารย์คะ ขออีกครั้งค่ะ
แอนนา SENSEI, MÔICHIDO ONEGAI SHIMASU.
อาจารย์คะ ขออีกครั้งค่ะ

หลักไวยากรณ์

รูป TE ของคำกริยา

เมื่อใช้คำกริยาตรงกลางประโยค กล่าวคือเมื่อเติมคำอื่น ๆ ตามหลังกริยาเหล่านั้น จะใช้กริยารูปที่ผันแล้ว คำกริยาที่ผันลักษณะที่จะลงท้ายด้วย TE เรียกว่า “คำกริยารูป TE"

e.g.) OBOEMASU (จำ) ผันเป็น OBOETE

กรุณาไปที่ "ข้อมูลเสริมการเรียน"

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

คำกริยารูป TE + KUDASAI
เมื่อขอให้ใครทำอะไรในภาษาญี่ปุ่น ใช้คำกริยารูป TE และตามด้วยคำว่า KUDASAI (กรุณา) คำกริยารูป TE คือ คำกริยาที่ผันแล้วลงท้ายด้วย TE หรือ DE

คำเลียนเสียงและท่าทาง

ใจเต้นตึ้กตั้ก
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีคำเลียนเสียงธรรมชาติและท่าทางอยู่มากมาย คำลักษณะนี้ได้รับการอธิบายผ่านเสียง โดยครอบคลุมคำหลากหลายประเภท ตั้งแต่เสียงร้องของสัตว์ไปจนถึงคำแสดงความรู้สึก

บันทึกของแอนนา

ดิฉันได้ข่าวมาว่า เราจะมีสอบย่อย ๆ นอกเหนือไปจากสอบไล่นะคะ อยากทราบว่าจะสอบย่อยเมื่อไร ดิฉันรู้สึก DOKI DOKI

Anna

รายชื่อบทเรียนทั้งหมด

*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK