
ญี่ปุ่นพัฒนารูปแบบทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์บนพื้นฐานอิทธิพลของจีนในศตวรรษที่ 10 และ 11 ประชุมบทกวีนิพนธ์โคะกิง วะกะชู หรือประชุมบทกวีนิพนธ์วะกะ คือ บทกวีญี่ปุ่นในรูปแบบที่เรียกว่า วะกะ เป็นผลงานสะท้อนยุคสมัยนั้น วิธีเหมาะสมที่สุดในการเขียนบทกวีวะกะคือการใช้ตัวอักษรฮิระงะนะที่สร้างขึ้นมาด้วยการดัดแปลงตัวอักษรจีนให้เขียนง่ายขึ้น ผลงานศิลปะที่เสนอครั้งนี้มาจากสำเนาประชุมบทกวีนิพนธ์โคะกิง วะกะชู ซึ่งคัดลอกขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 11 และถือว่าเป็นสุดยอดแห่งศิลปะการคัดตัวอักษรฮิระงะนะ งานเขียนตัวอักษรด้วยปลายพู่กันเรียวลงบนแผ่นกระดาษซึ่งมันวาวไปด้วยผงเกล็ดแร่ไมกา ปรากฏเป็นตัวเขียนแนวตั้งเชื่อมต่อกันในลักษณะพลิ้วลื่นไหลหลายสิบบรรทัด เชื่อว่าคนคัดลอกตัวอักษรแห่งบทกวีนิพนธ์นี้เป็นขุนนางคนหนึ่ง และแบบตัวเขียนนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของการเขียนตัวอักษรฮิระงะนะที่ใช้ในญี่ปุ่นในปัจจุบัน มองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ช่วงที่กระดาษม้วนต้นฉบับดั้งเดิมถูกแบ่งซอยออกเป็นแผ่นย่อย ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการชื่นชมความงาม และเสาะหาความงามของศิลปะการคัดตัวอักษรด้วยพู่กันแบบญี่ปุ่น
