ถาม-ตอบเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

การติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจนาและไวรัส RSV ที่กำลังเพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น

เฮอร์แปงไจนาคืออะไร

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประกันความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เราจะนำเสนอโรคติดเชื้อสองโรคซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเด็ก ๆ ได้แก่ เฮอร์แปงไจนา และโรคที่เกิดจากไวรัส RSV ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เฮอร์แปงไจนาทำให้มีไข้และมีตุ่มใสพุพองในปาก ขณะที่ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีไข้และไอ ครั้งนี้ เราจะมุ่งเน้นที่โรคเฮอร์แปงไจนา

การระบาดของโรคเฮอร์แปงไจนาเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูร้อนนี้ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบ นอกจากมีไข้แล้ว ผู้ป่วยอาจมีตุ่มใสขึ้นในปากและเจ็บคอ ควรระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับการขาดน้ำ เนื่องจากในบางครั้ง ความเจ็บปวดทำให้การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำกลายเป็นเรื่องยาก ผู้ป่วยบางคนอาจมีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียส

ในปีนี้ การติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจนาเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าปกติ สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่นระบุว่า จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเฮอร์แปงไจนาที่คลินิกโรคเด็กราว 3,000 แห่งทั่วญี่ปุ่นอยู่ที่ 22,980 คนในสัปดาห์ที่นับจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม คิดเป็น 7.32 คนต่อหนึ่งคลินิก ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าจำนวนของสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 6.48 คน ซึ่งเป็นยอดสูงสุดในรอบ 10 ปี

เมื่อแยกเป็นภูมิภาค ค่าเฉลี่ยต่อคลินิกที่สูงที่สุดอยู่ที่จังหวัดมิยางิ ที่ 23.2 คน มี 8 จังหวัดที่ค่าเฉลี่ยต่อคลินิกเกินสิบคน และมี 27 จังหวัดที่ค่าเฉลี่ยดังกล่าวสูงเกิน 6 คน ซึ่งจำนวน 6 คนนั้นเป็นระดับที่ต้องออกคำเตือน

ผู้เชี่ยวชาญขอให้ประชาชนทำให้มั่นใจว่าได้ดำเนินมาตรการต้านการติดเชื้อขั้นพื้นฐาน เช่น การล้างมือ

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566)

ไวรัส RSV คืออะไร

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประกันความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เราจะนำเสนอโรคติดเชื้อสองโรคซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเด็ก ๆ ได้แก่ เฮอร์แปงไจนา และโรคที่เกิดจากไวรัส RSV ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เฮอร์แปงไจนาทำให้มีไข้และมีตุ่มใสพุพองในปาก ขณะที่ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีไข้และไอ ครั้งนี้ เราจะมุ่งเน้นที่ไวรัส RSV

ไวรัส RSV ส่วนมากเป็นการติดเชื้อในกลุ่มเด็ก ๆ ทำให้มีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้และไอ หากติดเชื้อ ทารกอายุต่ำกว่าหกเดือนและเด็กที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด อาจมีอาการปอดอักเสบและป่วยหนักได้

สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่นระบุว่า ได้ยืนยันผู้ป่วยจำนวน 10,613 คนที่คลินิกโรคเด็กราว 3,000 แห่งทั่วประเทศ ในสัปดาห์ที่นับจนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม คิดเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.38 คนต่อคลินิก เพิ่มขึ้นจาก 3.17 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า

จำนวนผู้ป่วยกำลังเพิ่มมากขึ้นเร็วกว่าปกติในปีนี้ และการติดเชื้อกำลังแพร่ระบาดออกไปเร็วกว่าปีที่แล้ว

ผู้เชี่ยวชาญขอให้ประชาชนดำเนินมาตรการต้านการติดเชื้อพื้นฐาน เช่น การล้างมือ

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2566)

ทำไมจำนวนผู้ติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจนาและไวรัส RSV จึงเพิ่มมากขึ้นในญี่ปุ่น

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประกันความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เราจะนำเสนอโรคติดเชื้อสองโรคซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเด็ก ๆ ได้แก่ เฮอร์แปงไจนา และโรคที่เกิดจากไวรัส RSV ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เฮอร์แปงไจนาทำให้มีไข้และมีตุ่มใสพุพองในปาก ขณะที่ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีไข้และไอ ครั้งนี้ เราจะมุ่งเน้นว่าทำไมจำนวนผู้ติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจนาและไวรัส RSV จึงเพิ่มมากขึ้นในญี่ปุ่น

จำนวนผู้ป่วยโรคเฮอร์แปงไจนาและติดเชื้อไวรัส RSV เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นลดระดับสถานะทางกฎหมายของโรคโควิด-19 ลงมาเป็นโรคติดเชื้อเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับเทียบเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่นระบุว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฮอร์แปงไจนาและผู้ติดเชื้อไวรัส RSV ที่รายงานโดยคลินิกโรคเด็กราว 3,000 แห่งทั่วญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่นับจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนที่จะมีการลดระดับสถานะทางกฎหมายของโรคโควิด-19

อัตราการเพิ่มขึ้นสำหรับโรคเฮอร์แปงไจนาต่อหนึ่งคลินิกนั้นอยู่ที่ห้าเท่า ขณะที่การติดเชื้อไวรัส RSV มีอัตราเพิ่มขึ้นสองเท่า

จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ซึ่งปกติจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงมีนาคมนั้น ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ศาสตราจารย์ฮามาดะ อัตสึโอะ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โตเกียวซึ่งเชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อกล่าวว่า โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไม่ได้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในช่วงสามปีที่เกิดการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เนื่องจากผู้คนเดินทางข้ามประเทศกันน้อยลง ประกอบกับการดำเนินมาตรการต้านการติดเชื้ออย่างเข้มงวด

เขากล่าวว่าสิ่งนี้อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้คนอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า การผ่อนคลายเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยและแนวทางอื่น ๆ เนื่องจากการลดสถานะของโรคโควิด-19 ส่งผลให้โรคติดเชื้อทั้งหลายแพร่ไปได้ง่ายขึ้นและนี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การติดเชื้อโรคเฮอร์แปงไจนาและไวรัส RSV เพิ่มมากขึ้น

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2566)

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานที่ด้านการแพทย์ต่าง ๆ

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประกันความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เราจะนำเสนอโรคติดเชื้อสองโรคซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเด็ก ๆ ได้แก่ เฮอร์แปงไจนา และโรคที่เกิดจากไวรัส RSV ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เฮอร์แปงไจนาทำให้มีไข้และมีตุ่มใสพุพองในปาก ขณะที่ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีไข้และไอ ครั้งนี้ เราจะมุ่งเน้นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานที่ด้านการแพทย์ต่าง ๆ

คลินิกแห่งหนึ่งในเขตคิตะของกรุงโตเกียวระบุว่า จำนวนผู้ที่เป็นโรคเฮอร์แปงไจนาและติดเชื้อไวรัส RSV ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมปีนี้ เพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาดังกล่าว 4 ถึง 5 เท่า คลินิกนี้ระบุว่าผู้ป่วยมาคลินิกอย่างต่อเนื่องและบางคนต้องรอให้คนอื่นยกเลิกนัด เพื่อที่จะได้มาพบแพทย์ได้

คลินิกแห่งหนึ่งในเขตซูงินามิขาดแคลนชุดตรวจหาเชื้อไวรัส RSV เมื่อเดือนมิถุนายน มีหลายครั้งที่ทางคลินิกต้องใช้ชุดตรวจดังกล่าวแค่กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะเกิดอาการหนักเท่านั้น เช่น ทารกแรกเกิด

ร้านขายยาในละแวกดังกล่าว มียาปฏิชีวนะและยาแก้ไอเหลืออยู่ไม่มาก เนื่องจากการจัดส่งยาบางประเภทถูกระงับหรือจัดส่งอย่างจำกัด

ผู้ป่วยจำนวนมากเริ่มมีอาการหนักและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตเซตางายะซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านการรักษาโรคเด็กนั้น มีเด็กไม่ถึง 10 คนที่ติดเชื้อไวรัส RSV และเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลนับจนถึงเดือนพฤษภาคม แต่จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 40 คนนับจนถึงปลายเดือนมิถุนายน ทารกอายุ 2 สัปดาห์อยู่ในกลุ่มของเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วย แพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งนี้กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยในที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วเช่นนี้ ทำให้เป็นการยากที่จะให้การรักษาพยาบาลที่จำเป็นได้

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2566)

อาการของโรคเฮอร์แปงไจนา

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประกันความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เราจะนำเสนอโรคติดเชื้อสองโรคซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเด็ก ๆ ได้แก่ เฮอร์แปงไจนา และโรคที่เกิดจากไวรัส RSV ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เฮอร์แปงไจนาทำให้มีไข้และมีตุ่มใสพุพองในปาก ขณะที่ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีไข้และไอ ครั้งนี้ เราจะสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เกี่ยวกับอาการและการรักษาโรคเฮอร์แปงไจนา

คุณโองิมิ ชิการะ จากศูนย์สุขภาพและพัฒนาการเด็กแห่งชาติเป็นผู้ให้การรักษาเด็กที่เป็นโรคติดเชื้อ เขาระบุว่าเฮอร์แปงไจนาเป็นเชื้อไวรัสหวัดชนิดหนึ่ง ปัจจุบันไม่มียาที่ใช้รักษาเฉพาะและส่วนใหญ่โรคนี้ต้องใช้เวลาเพื่อรักษาฟื้นฟู

เมื่อต้องดูแลเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้ที่บ้าน หากเด็กสามารถรับประทานอาหารได้บ้าง ยังพอมีสติรู้ตัวและไม่อาเจียนตลอดเวลา การรักษาโดยให้ยาลดไข้หรือยาแก้ปวดอย่างเหมาะสมก็เพียงพอแล้ว สิ่งสำคัญก็คืออย่างน้อยที่สุด เด็กที่ป่วยต้องดื่มน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ถึงแม้ว่าจะเจ็บปากหรือเจ็บคอก็ตาม อาการต่าง ๆ จะคงอยู่ไปอย่างน้อย 2-3 วัน หรือบางกรณีอาจนานกว่านั้น

เขากล่าวว่าการปฏิบัติตามกฎพื้นฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อนั้นสำคัญ เพื่อไม่ให้ติดโรคเฮอร์แปงไจนา กฎดังกล่าวได้แก่การล้างมือให้สะอาดทั่วถึงและสวมหน้ากากอนามัยตามความเหมาะสมของช่วงวัย

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2566)

การรักษาโรคเฮอร์แปงไจนา

NHK จะตอบคำถามเกี่ยวกับการรับประกันความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน เราจะนำเสนอโรคติดเชื้อสองโรคซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเด็ก ๆ ได้แก่ เฮอร์แปงไจนา และโรคที่เกิดจากไวรัส RSV ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เฮอร์แปงไจนาทำให้มีไข้และมีตุ่มใสพุพองในปาก ขณะที่ไวรัส RSV ทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีไข้และไอ ครั้งนี้ เราจะสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เกี่ยวกับอาการและการรักษาโรคเฮอร์แปงไจนา

คุณโองิมิ ชิการะ จากศูนย์สุขภาพและพัฒนาการเด็กแห่งชาติเป็นผู้ให้การรักษาเด็กที่เป็นโรคติดเชื้อ เขาเตือนว่าเมื่อเด็กติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการหายใจลำบากหรือไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ ก็อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เขาจึงแนะนำให้ผู้ปกครองขอรับความช่วยเหลือทางการแพทย์เมื่อลูกหลานของตนเกิดอาการเช่นว่านี้

คุณโองิมิกล่าวว่าไม่มียาเฉพาะที่ใช้รักษาโรคนี้ สิ่งที่แพทย์ทั้งหมดสามารถทำได้โดยพื้นฐานก็คือการรักษาอาการเหล่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างเช่น การให้ออกซิเจนหรือช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวก

คุณโองิมิกล่าวว่าส่วนใหญ่ไวรัสนี้แพร่ผ่านการสัมผัสทางร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ผู้คนสามารถติดเชื้อได้ด้วยการจับจมูกหรือปากหลังจากที่ไปสัมผัสลูกบิดประตูหรือของเล่นที่มีสารคัดหลั่งของไวรัสติดอยู่ เขาย้ำถึงความสำคัญของการล้างมืออย่างสะอาดทั่วถึงและสวมหน้ากากอนามัยสำหรับคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว

คุณโองิมิยังกล่าวด้วยว่าเมื่อมีลูกเล็ก สิ่งสำคัญเป็นพิเศษก็คือการไม่นำไวรัสเข้าบ้านด้วยการดำเนินมาตรการต้านการติดเชื้ออย่างเข้มงวด

(ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2566)