เอ็นเอชเค เวิลด์ > มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ > หน้าแรกภาษาไทย > ครูสอนภาษาญี่ปุ่น > คำกริยารูป NAI (บทเรียนที่ 21)

ครูสอนภาษาญี่ปุ่น

คำกริยารูป NAI (บทเรียนที่ 21)

คำกริยาที่ลงท้ายด้วย NAI เรียกว่า "คำกริยารูป NAI" การผันคำกริยารูป MASU ให้เป็นรูป NAI คือ การผันกริยารูป MASU ให้เป็นรูปปฏิเสธแบบเป็นกันเองโดยอยู่ในรูป NAI นั่นเอง วิธีการผันสามารถอธิบายได้ดังนี้ อันดับแรก ถ้าสระในพยางค์ที่อยู่หน้า MASU ลงท้ายด้วย E ก็เพียงแต่ผัน MASU เป็น NAI ตัวอย่างเช่น TABEMASU แปลว่า “กิน” ผันเป็น TABENAI แปลว่า “ไม่กิน”
อันดับต่อไป ถ้าสระในพยางค์หน้า MASU ลงท้ายด้วย I จะมี 2 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบที่ 1 คือ ผัน MASU เป็น NAI ตัวอย่างเช่น OKIMASU (ตื่น) เปลี่ยนเป็น OKINAI แปลว่า “ไม่ตื่น” ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ ตัด MASU และเปลี่ยนสระในพยางค์นำหน้า MASU เป็น A และเติม NAI เช่น IKIMASU (ไป) ในที่นี้ พยางค์หน้า MASU คือ KI ก่อนอื่นต้องเปลี่ยน KI เป็น KA และเติม NAI เพราะฉะนั้น รูป NAI ของ IKIMASU คือ IKANAI แปลว่า “ไม่ไป"

แต่หลังจากตัด MASU ถ้าพยางค์ก่อน MASU คือ สระ I และไม่มีพยัญชนะ ให้เปลี่ยน I เป็น WA และเติม NAI เพราะฉะนั้น TSUKAIMASU ที่แปลว่า “ใช้” เปลี่ยนเป็น TSUKAWANAI หมายถึง “ไม่ใช้”
ต่อไป ไปทำความรู้จักกับคำกริยาที่ผันไม่ปกติ เช่น
KIMASU แปลว่า "มา” กลายเป็น KONAI แปลว่า “ไม่มา”
กรุณาไปที่ "ข้อมูลเสริมการเรียน"
*ออกจากเว็บไซต์ของ NHK